เมนู

เพลินซึ่งใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจ และธรรมารมณ์นั้น
ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เรา
จักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ
หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อ
ไม่เพลินภพนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระ-
อรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้นอัน
ใคร ๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้อง
หน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น.

[383] บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่
มีความคะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา
เป็นมุนี.


ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ 10 อย่าง


[384] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่โกร ในคำว่า ผู้ไม่
โกรธไม่สะดุ้ง ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความโกรธ ย่อมเกิด
ด้วยอาการ 10 อย่าง คือ ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติ
สิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว 1 เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์
แก่เรา 1 เขาจักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา 1 เขาได้ประพฤติสิ่ง

ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเราแล้ว 1 เขากำลังประ -
พฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเรา 1 เขาจัก
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา 1 เขา
ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา1 เขา
กำลังประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา 1
เขาจักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา 1
ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ 1.
ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความ
เคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชัง
เสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยา
ที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความ
พยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความ
พิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่ง
จิต นี้เรียกว่า ความโกรธ.
อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ
เป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้ง
ความโกรธเป็นเพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอแต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี บางครั้ง
ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุสวาจาก็มี บาง
ครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศ
ต่าง ๆ ก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่าง ๆ แต่ยัง
ไม่ให้จับท่อนไม้และศาสตราก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับ
ท่อนไม้และศาสตรา แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาสตราก็มี บางครั้งความ

โกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาสตรา แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และ
ศาสตราถูกต้องก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาสตรา
ถูกต้อง แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็น
แต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ แต่ยังไม่ให้กระดูกหักก็มี บางครั้ง
ความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหักแต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี
บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป แต่ยังไม่ให้
ชีวิตดับก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ แต่ยังไม่เสียสละ
ชีวิตของตนให้หมดไปก็มี เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้ว จึงให้
ฆ่าคน เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของ
มากอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้
ไม่โกรธ บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว เพราะ
กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธเสีย เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ.

ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง


[385] คำว่า ผู้ไม่สะดุ้ง ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว
สยดสยองกลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้
อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่
ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้
บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราจะไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ ภิกษุใน